Knowledge Base Wiki

Search for LIMS content across all our Wiki Knowledge Bases.

Type a search term to find related articles by LIMS subject matter experts gathered from the most trusted and dynamic collaboration tools in the laboratory informatics industry.

การเก็บตัวพิมพ์แยกระหว่างตัวใหญ่กับตัวเล็ก
อักษรกรีก บีตา ตัวใหญ่อยู่ทางซ้าย

อักษรตัวใหญ่ (อังกฤษ: capital letter, majuscule) คือกลุ่มของอักษรประเภทหนึ่งในระบบการเขียน เช่นในอักษรละติน: A, B, C, D, ... อักษรตัวใหญ่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "upper case" เนื่องจากการจัดเก็บตัวพิมพ์ของอักษรชนิดนี้ไว้ชั้นบนของลิ้นชักโดยโยฮันน์ กูเทนแบร์ก (Johannes Gutenberg) ผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์แบบถอดได้สำหรับงานพิมพ์ ซึ่งอักษรตัวเล็กที่ใช้บ่อยกว่าจะเก็บอยู่ในลิ้นชักชั้นล่าง

ระบบการเขียนหลายระบบไม่มีความแตกต่างระหว่างอักษรตัวใหญ่กับตัวเล็ก เช่น อักษรอาหรับ อักษรจีน อักษรเทวนาครี รวมทั้งอักษรไทย แม้แต่ภาษาในแถบยุโรปเมื่อก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็ยังไม่มีความแตกต่าง กล่าวคือแม้จะมีรูปอักษรตัวใหญ่และตัวเล็กอยู่แล้ว แต่ข้อความที่เขียนขึ้นจะใช้เพียงประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช้รวมกัน

การใช้งาน

ในภาษาที่มีการใช้ความแตกต่างของอักษร อักษรตัวใหญ่ใช้ในกรณีต่อไปนี้

  1. การเน้นหัวเรื่อง (capitalization)
  2. การเน้นคำ (emphasis) ในบางภาษา
  3. อักษรย่อและคำย่อ
  4. การเขียนหรือการพิมพ์เพื่อความอ่านง่าย เช่นป้ายจราจรหรือฉลาก