รอแดซ
ทิวทัศน์รอแดซ
ตราอาร์ม
ประเทศ ฝรั่งเศส แคว้น อ็อกซีตานี จังหวัด อาแวรง เขต รอแดซ อำเภอ รอแดซ-1 , รอแดซ-2 และ รอแดซ-ออแน สหเทศบาล Rodez Agglomération การปกครอง • นายกเทศมนตรี (2020–2026) Christian Teyssèdre[ 1] (PS ) พื้นที่1 11.18 ตร.กม. (4.32 ตร.ไมล์) ประชากร (มกราคม ค.ศ. 2018)2
24,319 คน • ความหนาแน่น 2,200 คน/ตร.กม. (5,600 คน/ตร.ไมล์) เขตเวลา UTC+1 (CET ) • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง ) UTC+2 (CEST )รหัสอีนเซ /ไปรษณีย์ 12202 /12000สูงจากระดับน้ำทะเล 501–643 m (1,644–2,110 ft) (avg. 627 m หรือ 2,057 ft) 1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ
2 Population without double counting : residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.
รอแดซ (ฝรั่งเศส : Rodez , ออกเสียง: [ʁɔdɛz] ⓘ หรือ [ʁɔdɛs] ⓘ ; อุตซิตา : Rodés , ออกเสียง: [ruˈðes] ) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลักของจังหวัด อาแวรง ของแคว้นอ็อกซีตานี ชาวเมืองรอแดซเรียกว่า "Ruthenois"
ประวัติ
รอแดซเป็นบริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ที่ก่อตั้งโดยเคลต์ หลังจากการครองบครองโดยโรมัน รอแดซก็ได้รับชื่อว่า "เซโกดูนุม" (Segodunum) ระหว่างสมัยจักรวรรดิก็รู้จักกันในนาม "เมืองรูเตโนรุม" (Civitas Rutenorum) ที่เพี้ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน วิซิกอท ก็ยึดรอแดซ ต่อมาก็ถูกยึดโดยแฟรงก์ และถูกปล้นทำลายโดยอาหรับในปี ค.ศ. 725 หลังจากนั้นก็ถูกยึดครองโดยกองทัพของดยุกแห่งอากีแตน และเคานต์แห่งตูลูซ [ 2] ระหว่างสงครามร้อยปี ก็ถูกยึดครองโดยกองทัพอังกฤษ
ระหว่างยุคกลางปัญหาใหญ่ของรอแดซคือความขัดแย้งระหว่างเคานต์แห่งรอแดซ และบิชอปแห่งรอแดซ ผู้พยายามแสดงอำนาจในบริเวณต่าง ๆ ของเมืองที่แยกกันด้วยกำแพงเมือง เคานต์แห่งรอแดซสามารถต่อต้านอำนาจของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมาจนกระทั่งเคานต์จอห์นที่ 4 ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ศตวรรษต่อมาบิชอปฟร็องซัว เดแต็ง ก็ทำการก่อสร้างอาสนวิหารแม่พระแห่งรอแดซ
เคานต์คนสุดท้ายของรอแดซ อ็องรีที่ 6 ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ขายบรรดาศักดิ์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี ค.ศ. 1589 เมืองรอแดซยังคงรุ่งเรืองทางการค้าต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่มาสูญเสียความสำคัญเมื่อวีลฟร็องช์-เดอ-รูแอร์ก ได้รับการยกขึ้นเป็นเมืองหลวงเมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศส เริ่มขึ้น
สถานที่ท่องเที่ยว
อาสนวิหารแม่พระแห่งรอแดซ เป็นอาสนวิหารที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ที่อยู่ติดกำแพงเมืองด้านตะวันตกทั้งหมดซึ่งเป็นกำแพงป้องกันเมือง ซึ่งทำให้มีลักษณะเหมือนป้อม
"ชาเปลนักบุญมาร์ติน"
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
โบสถ์แซ็ง-อาม็อง (สร้างคริสต์ศตวรรษที่ 12, สร้างใหม่ ค.ศ. 1758-ค.ศ. 1761) ภายในเป็นแบบบารอก บริเวณร้องเพลงสวดมีพรมทอแขวนผนัง จากคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นภาพปาฏิหาริย์ของนักบุญอามานด์ นอกจากนั้นก็มีประติมากรรม "ปีเอตะ" และ "ตรีเอกภาพ" (คริสต์ศตวรรษที่ 16)
จวนบิชอป
Musée Denys-Puech - พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1903 โดยประติมากรDenys Puech ผู้ได้รับทุนการศึกษาปรีซ์เดอโรม ในปี ค.ศ. 1884
เศรษฐกิจ
รอแดซเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเกษตรกรรมมาแต่ดั้งเดิม
การคมนาคม
รอแดซมีสนามบิน "สนามบินรอแดซ-มาร์ซียัก" ที่ตั้งอยู่ที่เมืองซาล-ลา-ซูร์ส
อื่น ๆ
แบร์นาร์ ลาปอร์ต (Bernard Laporte) เกิดที่รอแดซ
นักท่องเที่ยวราวสิบคนต่อปีหลงมารอแดซเมื่อตั้งใจจะเดินทางไปโรดส์
เมืองพี่เมืองน้อง
อ้างอิง
↑ "Répertoire national des élus: les maires" . data.gouv.fr, Plateforme ouverte des données publiques françaises (ภาษาฝรั่งเศส). 2 December 2020.
↑ Genty, Roger. Les Comtes de Toulouse: Histoire et Traditions. Editions de Poliphile, 1987
แหล่งข้อมูลอื่น
นานาชาติ ประจำชาติ ภูมิศาสตร์ อื่น ๆ